อาหารการกินของเราก็ได้มีการเปลี่ยนไป กินของที่ดูแปลกแตกต่าง อาหารที่จะกล่าวถึงนี้คือ น้ำแร่
อันว่าน้ำแร่นั้นโปรดอย่าเข้าใจผิดว่าหมายถึงที่ชาวเหมืองแร่นิยมดื่มกัน ชาวเมืองนั้นนิยมกินน้ำมังสวิรัติมากกว่า นัยว่าเพื่อใช้เป็นยาฆ่าเชื้อในกระเพาะอาหาร ในคำนิยามของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้กำหนดคำนิยามของน้ำแร่ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่ ที่ออกตามพระราชบัญญัติอาหารว่า หมายความถึงน้ำแร่ตามธรรมชาติ ที่ได้จากแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และมีแร่ธาตุผสมอยู่เป็นคุณสมบัติสำหรับแหล่งน้ำนั้นๆ ฟังดูยังงงกันอยู่ แต่ไม่เป็นไรค่ะอ่านไปเดี๋ยวก็ตาสว่างเอง
ถ้าคุณเคยสังเกตเวลาดูว่าชาวต่างประเทศผ่านดาวเทียมจะพบว่า ในการประชุมระหว่างผู้นำคนสำคัญของโลกนั้นบนโต๊ะการประชุมมักมีขวดสีเขียว ซึ่งไม่ใช่สไปรท์วางอยู่คู่กับแก้วน้ำน้ำในขวดนั้นมักจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติ ซึ่งไม่ต่างกับเวลาเข้ารับหังการบรรยายตามโรงแรมในกรุงเทพฯ มักจะมีน้ำแร่ของการประปานครหลวงมาเสิร์ฟ ที่เรียกว่าน้ำแร่การประปาก็เพราะปัจจุบันมีน้ำประปาของ กทม. นั้นมีคุณภาพเข้าขั้นของน้ำแร่ธรรมชาติแล้ว เพราะสังเกตได้ว่าเมื่อรินใส่แก้วทิ้งไว้สักหลายๆ วันให้น้ำระเหยแห้งไป คุณจะพบคราบที่แก้วน้ำซึ่งไม่ใช่อื่นใดนั้นคือแร่ธาตุที่มีในธรรมชาติของน้ำในบ้านเรา (บวกกับสารเคมีที่โรงงานต่างๆ พร้อมใจกันเติมลงในน้ำดื่มที่ใช้น้ำประปา)
คนต่างชาติเช่นชาวยุโรปนั้นเชื้อว่าน้ำแร่นั้นดื่มแล้วดี ทำให้แข็งแรง แถมมีรสชาติดีด้วย น้ำแร่ที่เขานิยมดื่มมักจะมาจากแหล่งน้ำแร่ที่อยู่บนเชิงเขาเชิงดอยซึ่งห่างไกลจากเมืองที่มีมลพิษ
ความจริงในบ้านเราก็มีแหล่งน้ำแร่อยู่หลายแห่ง ที่ขึ้นชื่อลือชาก็คงเป็นที่ จ.ระนอง ซึ่งมีการต่อน้ำแร่ซึ่งเกิดจากน้ำพุร้อนเข้าไปให้อาบกันที่โรงแรมเลย น้ำแร่ประเภทนี้ต่างจากประเภทอื่นที่บรรจุขวดดื่ม เพราะมันมีกำมะถันสูง เหมาะกับการอาบเพื่อรักษาโรคผิวหนังมากกว่า
ในทางการปฏิบัติเพื่อนำเข้าหรือผลิตน้ำแร่ในทางการค้านั้น อย.ได้กำหนดประกาศขึ้นมาควบคุมเฉพาะ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก ประกาศฉบับนี้อาศัยหลักการและเนื้อหาจากที่มีการประกาศนานาชาติเลยทีเดียว เพื่อแสดงว่าไทยเราก็ศิวิไลซ์เหมือนกัน นอกจากแร่ธาตุแล้วก็ยังมีการกำหนดปริมาณสารปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งเกิดจากปุ๋ย การชะล้างทำความสะอาดโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนสารกัมมันตภาพรังสี อีกทั้งต้องไม่มีเชื้อโรคในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายอีกด้วย
ในการผลิตน้ำแร่ตามหลักสากลนั้นก็ได้พยายามให้เป็นธรรมชาติที่สุด กล่าวคือตักมาจากบ่ออย่างไรก็กรอกใส่ขวดอย่างนั้น อาจเติมก็าซคาร์บอนไดออกไซต์ลงไปใปให้เกิดความซ่าส์ สำหรับคนชอบซ่าส์หรือเติมก๊าซโอโซนลงไปเพื่อฆ่าเชื้อโรค นอกจากนั้นห้ามทำแม้แต่กระทั่งการกรอง
ประเด็นสำคัญที่ผู้บริโภคน้ำแร่ต้องคำนึงไว้ก็คือ เรื่องการแสดงฉลาก ซึ่งตามประกาศที่กระทรวงสาธารณสุขออกไว้แต่เดิม และจากการแก้ไขใหม่นั้นจะช่วยคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคให้มากขึ้น เช่น กรณีคำเตือนที่ไม่แนะนำให้เด็กและหญิงมีครรภ์บริโภค เนื่องจากแนวความคิดว่าไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องไปเสี่ยงกับการรับแร่ธาตุซึ่งบางอย่างอาจไม่ปลอดภัยได้
นอกจากนี้ยังมีการบังคับให้ผู้จำหน่ายจัดประเภทน้ำแร่ของตนว่าอยู่ในประเภทต่อไปนี้หรือไม่ เช่น ต้องแสดงฉลาว่ามีฤทธิ์ถ่ายท้อง ถ้ามีเกลือซัลเฟตเกิน 600 มิลิกรัม/ลิตร ยกเว้นเกลือแคลเซียมซัลเฟต มีเกลือสูงถ้ามีโซเดียมคลอไรต์มากกว่า 1,000 มืลลืกรัม/ลิตร ทีธาตุเหล็กสูงถ้ามีแร่เหล็กมากกว่า 5 มิลลิกรัม/ลัตร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น